เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2565 บริษัทสยามซีเพลน จำกัด เป็นเจ้าภาพจัดงานสัมนาเพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมการบินทั้งภาครัฐและภาคเอกชนได้ประชุมหารือเกี่ยวกับประโยชน์ของเครื่องบินทะเลที่มีต่อประเทศไทยที่โรงแรมสวิสโซเทล กรุงเทพฯ รัชดา โดย บริษัท สยาม ซีเพลน จำกัด ซึ่งเป็นผู้ให้บริการเครื่องบินทะเลมาตรฐานสูงแห่งแรกของประเทศไทยที่พร้อมเปิดให้บริการภายในปี พ.ศ. 2565
การขนส่งโดยเครื่องบินทะเลได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นทางเลือกสำคัญในการเดินทาง โดยมัลดีฟส์นับเป็นตลาดที่สำคัญและมีชื่อเสียงสำหรับการเดินทางด้วยเครื่องบินทะเล เช่นเดียวกับการเดินทางและโลจิสติกส์ในหลายประเทศ อาทิ ประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย และหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่กำลังมีความพยายามในการให้บริการเครื่องบินทะเลและออกกฏข้อบังคับเพื่อผลักดันเครื่องบินให้เกิดขึ้นในภูมิภาค เช่น อินโดนีเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทยที่มีความเหมาะสมหลายประการในการให้บริการเครื่องบินทะเลในการส่งเสริมอุตสากรรมท่องเที่ยวระดับพรีเมี่ยม การขนส่งสินค้า การอพยพทางการแพทย์ และอื่นๆ
การสัมมนาครั้งนี้ได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งนำเสนอมุมมองและประโยชน์ของเครื่องบินทะเลในประเทศไทยในด้านต่างๆ น.ส.วรกัญญา สิริพิเดช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท สยาม ซีเพลน จำกัด กล่าวต้อนรับโดยและกล่าวถึงประวัติศาสตร์การบินที่บินด้วยเครื่องบินทะเล ว่าในประเทศไทยการบินด้วยเครื่องบินทะเลที่ประสบความสำเร็จเกิดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2453 โดยขึ้นลงจอดช่วงนึงในแม่น้ำเจ้าพระยาในปีพ.ศ. 2483 และบริเวณดังกล่าวได้ถูกเรียกว่า "สนามบินน้ำ" จนถึงปัจจุบัน
กล่าวเปิดงานโดย นายธงชัย พงษ์วิชัย ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการขนส่งทางน้ำ กระทรวงคมนาคม นายธงชัยกล่าวว่า “บริการนี้ช่วยให้สามารถเข้าถึงพื้นที่ที่ยากลำบากต่อการเดินทางให้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น เช่น เกาะ แก่ง ต่างๆ ทั่วประเทศไทย '' ผู้กล่าวเปิดงานคนที่สองได้แก่ ท่าน Ahmed Zuhair รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมและการบินพลเรือนแห่งสาธารณรัฐ มัลดีฟส์ซึ่งได้เน้นย้ำถึงการปฏิบัติการด้วยครื่องบินทะเลในมัลดีฟส์อย่างปลอดภัยมานานหลายทศวรรษและยินดีให้ความร่วมมืออันดีต่อประเทศไทย
ต่อด้วย Mr. Bjorn Courage นายกสมาคมโรงแรมภูเก็ต กล่าวถึงประโยชน์ของเครื่องบินทะเลในด้านการท่องเที่ยวและ นพ. เอกกิตติ์ สุรการ ผู้อำนวยการด้านการแพทย์ ศูนย์การแพทย์ BDMS Medevac กล่าวถึงวิธีการที่เครื่องบินทะเลสามารถยกระดับประสิทธิภาพการอพยพทางการแพทย์และการเข้าถึงพื้นที่ห่างไกลได้มากขึ้น โดยกล่าวว่า “เครื่องบินน้ำคือเครื่องมือเชื่อมโยงในกรณีฉุกเฉินสำหรับการรักษาพยาบาลที่ไร้พรมแดน” Mr. Raymond และ Timothy Eyre จาก Monte Cleantech กล่าวถึงความยั่งยืนและการใช้พลังงานไฟฟ้าของเครื่องบินในอนาคต นายพิทักษ์ วัฒนพงศ์พิศาล ผู้อำนวยการสำนักความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมทางน้ำ กรมเจ้าท่า ได้ชี้แจงว่าเครื่องบินทะเลสามารถทำงานอย่างไรให้สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยทางน้ำ
ต่อจากนั้นเป็น ท่าน Mohamed Jinah เอกอัครราชทูตมัลดีฟส์ประจำประเทศไทย ได้แบ่งปันข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเครื่องบินทะเลในมัลดีฟส์ในฐานะที่เป็นส่วนสำคัญต่อเศรษฐกิจการท่องเที่ยวระดับไฮเอนด์ โดยเน้นที่ความปลอดภัยจนทำให้การเกิดอุบัติเหตุการเสียชีวิตเป็นศูนย์ตลอด 30 ปี นาย Rob Ceravolo ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของสายการบิน Tropic Ocean Airways ผู้ให้บริการเครื่องบินน้ำสะเทินน้ำสะเทินบกที่ใหญ่ที่สุดในโลก ได้นำเสนอถึงความสำคัญของขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เป็นมาตรฐาน นาย Sébastien Laurent Managing Partner Asia, Financière de Courcelles (ธนาคารเพื่อการลงทุนและที่ปรึกษาการควบรวมกิจการ) แสดงความเห็นว่าเครื่องบินทะเลเป็นรูปแบบธุรกิจที่ได้รับการพิสูจน์แล้วทั่วโลกว่าปลอดภัยและมาตรฐานสูง และยังกล่าวอีกว่าการเชื่อมต่อทางอากาศที่เพิ่มขึ้นนั้นส่งผลโดยตรงกับการเติบโตของ GDP นายไมเคิล เบลนีย์ เดวิดสัน และนายอมฤต เอื่อมเจริญ จาก สยาม ซีเพลน แสดงให้เห็นว่าพวกเขามุ่งเน้นไปที่การผสมผสานความยั่งยืนอย่างไร ด้วยแนวคิด “ความปลอดภัยเสมอ” — สร้างสรรค์รูปแบบการขนส่งใหม่ผ่านการฝังเทคโนโลยีที่ทันสมัย
ผู้แทนจากภาครัฐเข้าร่วมการสัมมนาในครั้งนี้ ได้แก่ผู้แทนจากสำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม, สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศ (CAAT), กรมเจ้าท่า, สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC), องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง เป็นต้น รวมถึงองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการบินได้แก่ องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) รวมถึงภาคเอกชน ผู้บริหารสายการบินและให้บริการเกี่ยวกับการบิน, ผู้บริหารโรงแรมภายในประเทศไทยที่มีชื่อเสียง รวมทั้งผู้ลงทุนและผู้ถือหุ้นในหลากหลายธุรกิจ
ภายในงาน คุณธงชัยได้กล่าวว่า “วันนี้นับเป็นก้าวสำคัญของพวกเราที่จะร่วมมือกันสร้างผลประโยชน์เพื่อประเทศไทย และยังมีผู้วิทยากรอีกหลายท่านที่พูดถึงผลประโยชน์ของเครื่องบินทะเลต่อประเทศไทย”
ผู้ขึ้นกล่าวในวันสัมมนาทุกท่านมีมุมมองไปในทางเดียวกัน เครื่องบินทะเลจะสามารถดำเนินการในประเทศไทยได้ด้วยกฎหมายและข้อกำหนดที่เป็นมาตรฐาน โดยทางบริษัทจะดำเนินการให้เป็นมาตรฐานภายใต้การกำกับดูแลจากหน่วนงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องและสอดคล้องกับคำแนะนำการปฏิบัติการจากหน่วยงานกลางระหว่างประเทศ
หน่วยงานภาครัฐร่วมมือกันทำงานอย่างใกล้ชิด กับบริษัทสยามซีเพลน เพื่อให้แน่ใจว่าเป็นไปตามกฏหมายการเดินอากาศและกฏหมายที่เกี่ยวข้อง นาย Sébastien Laurent (ธนาคารเพื่อการลงทุนและที่ปรึกษาการควบรวมกิจการ) ได้กล่าวอีกว่าเครื่องบินทะเลเป็นประโยชน์ต่อท้องถิ่นในด้านของการดึงดูดการลงทุนและการพัฒนาท้องที่ ในขณะที่คุณพิทักษ์ วัฒนพงศ์ไพศาล ผู้อำนวยการสำนักความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมทางน้ำ กรมเจ้าท่า กล่าวว่า เครื่องบินทะเลสามารถที่จะเป็นหัวใจสำคัญในการฟื้นฟูอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย ซึ่งก่อนหน้านี้ได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญด้วยโรคระบาดโควิด-19
ในขณะที่ Mr. Bjorn Courage นายกสมาคมโรงแรมภูเก็ต ประธานของสมาคมโรงแรมในจังหวัดภูเก็ต ก็พูดอย่างชัดเจนไปในทางเดียวกันว่า เครื่องบินทะเลถือว่าเป็นมิติใหม่ในการเดินทางและดึงดูดนักท่องเที่ยวในระดับพรีเมี่ยมได้มากขึ้น
บริษัท สยาม ซีเพลน จำกัด ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2562 ให้บริการเครื่องบินทะเลที่มีคุณภาพสูงและมีความสามารถที่จะเติบโต บริษัทใช้ tag line ว่า Once in a lifetime — every time บริษัทตั้งใจที่จะสร้างประสบการณ์การเดินทางรูปแบบใหม่ที่มีอัตลักษณ์ น่าจดจำ และเข้าถึงง่าย
บริษัท สยาม ซีเพลน จำกัด ผสานความร่วมมือและทำงานอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องรวมถึงการปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคธุรกิจ อาทิเช่น โรงแรม รีสอร์ท ท่าจอดเรือ และพันธมิตรอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้แน่ใจว่า บริการของเราสามารถยกระดับการท่องเที่ยวอันส่งผลดีภาพลักษณ์ของประเทศไทย เครื่องบินทะเลสามารถตอบโจทย์เรื่องการเดินทางไปยังจุดหมายปลายทางที่เข้าถึงได้ยากริมน้ำทั่วประเทศไทย
ลิงค์และการติดต่อ
ภาพถ่ายและวิดีโออย่างเป็นทางการจากการสัมมนา — ลิงก์ไปยังโฟลเดอร์งานกิจกรรม
สื่อต่างๆของบริษัทและโลโก้ — ลิ้งค์ไปยังโฟลเดอร์ PR
ดาวน์โหลดข่าวประชาสัมพันธ์ — ลิ้งค์ไฟล์ PDF
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสัมมนาหรือบริษัท สยาม ซีเพลน โปรดติดต่อ — press@siamseaplane.com